การใช้บัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศในอัตราร้อยละ 1
“ธนาคารขอแจ้งให้ทราบว่า ธนาคารได้พิจารณาผ่อนผันการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
ในอัตราร้อยละ 1 ซึ่งมีกำหนดเริ่มเรียกเก็บในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพื่อให้ลูกค้าได้ศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มเติม ทั้งนี้ ธนาคาร
จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งก่อนที่จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว”
ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ (Dynamic Currency Conversion) คือ ค่าธรรมเนียมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในสกุลเงินบาทเพื่อทำการ ซื้อสินค้า บริการ และ/หรือ การกดเงินสดที่เป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ รวมถึงร้านออนไลน์ที่จดทะเบียนต่างประเทศ ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดใช้จ่าย/ยอดกดเงินสด
ประเภทการทำรายการที่เข้าข่ายจะถูกคิดค่าธรรมเนียม 1%
- ร้านค้าจะแสดงมูลค่าสินค้าเป็นสกุลเงินบาทซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้เห็นราคาสุทธิที่จะต้องจ่ายจริงก่อนตัดสินใจชำระค่าสินค้า
- ในกรณีซื้อสินค้าผ่านช่องทาง ออนไลน์ หรือ ผ่านทางโทรศัพท์ กับร้านค้าออนไลน์ ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ และอนุญาตให้มีการชำระเป็นสกุลเงินบาท จะเข้าข่ายในการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้จ่าย 1% เพราะเสมือนเป็นการทำรายการของร้านค้าที่ต่างประเทศ
- ถึงแม้ว่าร้านค้าออนไลน์นั้นจะเป็น website ที่ลงท้ายด้วย “.co.th” และมีการแสดงราคาเป็นสกุลเงินบาทร้านค้าออนไลน์นั้นๆอาจจะมีการจดทะเบียนร้านค้าในต่างประเทศ หรือ มีกระบวนการจ่ายเงินที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ก็เข้าข่ายที่จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 1%
หมายเหตุ
- การที่ผู้ถือบัตรชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท (Dynamic Currency Conversion) อาจจะทำให้ราคาสินค้าที่ถูกเรียกเก็บ สูงกว่าการชำระเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เนื่องจากร้านค้าอาจจะมีการใช้อัตราแลกเปลี่ยน (ที่ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า) ที่สูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่เรียกเก็บโดยบริษัทผู้ออกบัตรเครดิต”
- การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต เช่น VISA, Mastercard เรียกเก็บผ่านบริษัทผู้ออกบัตรเครดิตในกรณีที่ผู้ถือบัตร มีการใช้จ่ายตามเงื่อนไขผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิตกำหนด ผู้ถือบัตรควรทำการตรวจสอบกับร้านค้าโดยศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงินและค่าธรรมเนียมก่อนซื้อสินค้า / บริการ
- กรณีลูกค้าจ่ายในร้านค้าผ่านเครื่องรูดบัตร EDC ของธนาคารพาณิชย์ไทย จะไม่ถูกคิดค่าธรรมเนียมดังกล่าว
- กรณีผู้ถือบัตรกดเงินสดด้วยสกุลเงินบาทผ่านตู้ ATM ในต่างประเทศธนาคารจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า3% ของจำนวนเงินที่เบิกถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิต และ VAT7% ของค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสด และค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท 1% ของจำนวนเงินที่เบิกถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท
- กรณีผู้ถือบัตรทำรายการเบิกเงินสดผ่านเครื่อง ATM ในต่างประเทศ ผู้ถือบัตรอาจต้องชำระค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสดระหว่างประเทศตามอัตราที่ธนาคารเจ้าของเครื่อง ATM นั้นๆกำหนด (Access Charge Fee)
ตัวอย่างร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนร้านค้าในต่างประเทศและเข้าข่ายการถูกคิดค่าธรรมเนียม
หมายเหตุ : รายชื่อร้านค้าเป็นเพียงตัวอย่างที่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของร้านค้า
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
1 | ถาม : | DCC Fee (Dynamic Currency Conversion Fee) คืออะไร? | |
ตอบ : | DCC fee คือ ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ หรือ Dynamic Currency Conversion fee (DCC fee) ซึ่งเรียกเก็บสำหรับรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อชำระสินค้า บริการ และ/หรือ การกดเงินสดที่เป็นสกุลเงินบาท ที่ร้านค้าต่างประเทศ รวมถึงร้านออนไลน์ที่จดทะเบียนต่างประเทศในอัตราร้อยละ 1 ของยอดใช้จ่าย / ยอดกดเงินสด | ||
2 | ถาม : | อัตราเรียกเก็บค่าธรรมเนียม? | |
ตอบ : | ธนาคารจะเรียกเก็บ DCC Fee ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดใช้จ่ายที่ร้านค้าต่างประเทศหรือร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ หรือยอดกดเงินสดที่ ATM ในต่างประเทศ | ||
ตัวอย่างที่1 : | จองโรงแรมทั้งในและต่างประเทศกับ เว็บไซต์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ โดยชำระเป็นสกุลเงินบาทจำนวน 3,000 บาท จะมีการเรียกเก็บ DCC fee 1% ของยอด 3,000 บาท คือ 30 บาท เนื่องจากการจองโรงแรมในประเทศกับ website ในต่างประเทศจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ดังกล่าว | ||
ตัวอย่างที่2 : | ค่าบริการเติมเงินซื้อเกมร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศผ่าน app store จำนวน 100 บาท จะมีค่าธรรมเนียม DCC fee 1% ของยอด 100 บาท คือ 1 บาท | ||
3 | ถาม : | วันที่มีผล? | |
ตอบ : | ธนาคารได้ประกาศผ่อนผันการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ โดยจะเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด (จากเดิมที่มีกำหนดเริ่ม 1 พฤษภาคม 2567) เพื่อให้ลูกค้าได้ศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มเติม ทั้งนี้ ธนาคารจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งก่อนมีการเรียกเก็บจริง | ||
4 | ถาม : | ทำไมต้องมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ? | |
ตอบ : | การคิดค่าธรรมเนียมเป็นส่วนที่ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต เช่น VISA, Mastercard เรียกเก็บจากบริษัทผู้ออกบัตร ในกรณีที่ผู้ถือบัตรเครดิตมีการจ่ายตามเงื่อนไขที่ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิตกำหนด | ||
5 | ถาม : | วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ของ VISA, Mastercard | |
ตอบ : | สำหรับ VISA และ Mastercard คิดอัตราร้อยละ 1 ของยอดใช้จ่าย/ยอดกดเงินสด | ||
6 | ถาม : | สามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาทได้ วันไหน? | |
ตอบ : | ลูกค้าสามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมได้ ณ วันที่บันทึกรายการ (Posting Date) | ||
7 | ถาม : | ค่าธรรมเนียมรายการใช้จ่ายในร้านค้าต่างประเทศด้วยสกุลเงินบาท จะถูกเรียกเก็บกับบัตรเครดิตประเภทใดบ้าง? | |
ตอบ : | บัตรเครดิตวีซ่า และ มาสเตอร์การ์ดทุกประเภทรวมถึงทั้งบัตรหลักและบัตรเสริม | ||
8 | ถาม : | ค่าธรรมเนียม 1% คิดอย่างไร? | |
ตอบ : | คิดค่าใช้จ่าย 1% จากยอดใช้จ่าย /ยอดกดเงินสด ผ่านบัตรเป็นสกุลเงินบาท โดยคิดจากยอด ณ วันที่บันทึกรายการใช้จ่าย | ||
9 | ถาม : | การเก็บค่าธรรมเนียมรวมถึงร้านค้าประเภทไหนบ้าง? | |
ตอบ : | ร้านค้าในต่างประเทศและเลือกชำระเป็นสกุลเงินบาท รวมถึงร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ เช่น FACEBOOK, AGODA, TRIP.COM, TIK TOK, GOOGLE, APPLE.COM, KLOOK, NETFLIX,VEBO/EXPEDIA เป็นต้น (ข้อมูลร้านค้าตัวอย่าง ณ เดือน พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน ขึ้นอยู่กับร้านค้า) | ||
10 | ถาม : | ประเภทการทำรายการที่เข้าข่ายจะถูกคิดค่าธรรมเนียม 1% | |
ตอบ : | ร้านค้าจะแสดงมูลค่าสินค้าเป็นสกุลเงินบาทซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้เห็นราคาสุทธิที่จะต้องจ่ายจริงก่อนตัดสินใจชำระค่าสินค้า ในกรณีซื้อสินค้าผ่านช่องทาง online หรือ ผ่านทางโทรศัพท์ กับร้านค้าออนไลน์ ที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และอนุญาตให้มีการชำระเป็นสกุลเงินบาท จะเข้าข่ายในการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้จ่าย 1% เนื่องจากถือว่าเป็นการทำรายการร้านค้าที่ต่างประเทศ ถึงแม้ว่าร้านค้าออนไลน์นั้นจะเป็น website ที่ลงท้ายด้วย “.co.th” และมีการแสดงราคาเป็นสกุลเงินบาทร้านค้าออนไลน์นั้นๆอาจจะมีการจดทะเบียนร้านค้าในต่างประเทศ หรือ มีกระบวนการจ่ายเงินที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ก็เข้าข่ายที่จะถูกคิดค่าธรรมเนียม 1% | ||
11 | ถาม : | ธนาคารอื่นๆ มีการเลื่อนเหมือนกันหรือไม่ | |
ตอบ : | การเลื่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ซึ่งเป็นการพิจารณาร่วมกันระหว่างชมรมบัตรเครดิต และธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) โดยธนาคารเองได้มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และรวมถึงสถาบันการเงินอื่นๆด้วยเช่นกัน |